หน้าแรก Cloud ความจริง 4 ประการที่ควรรู้เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมแบบ Serverless

ความจริง 4 ประการที่ควรรู้เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมแบบ Serverless

แบ่งปัน
สถาปัตยกรรมแบบไร้เซิร์ฟเวอร์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ Function-as-a-Service (FaaS) ถือเป็นหนึ่งในเทรนด์สุดฮอตของวงการคลาวด์คอมพิวติงปัจจุบัน ซึ่งมีผู้ให้บริการรายใหญ่อยู่หลายเจ้าไม่ว่าจะเป็น AWS Lambda, Microsoft Azure Functions, Google Cloud Functions, และ IBM Bluemix OpenWhisk

ซึ่ง FaaS จะเปิดให้ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงโครงสร้างพื้นฐานที่ทำงานด้วย ถือว่าบริการดังกล่าวได้พัฒนาขึ้นจาก Platform-as-a-Service ดั้งเดิมขึ้นมา ที่ตัดความยุ่งยากในการจัดสรรทรัพยากรหรือจัดการเซิร์ฟเวอร์ออกไป ทิ้งภาระดังกล่าวโยนให้ผู้บริการคลาวด์ทำงานแทน

นอกจากการใช้บริการ FaaS ภายนอกแล้ว ยังมีผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์อย่าง Cloud Foundry และ VMware ที่ออกโซลูชั่นที่ช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานแบบ Serverless ภายในบริษัทของตัวเองได้ด้วย

เนื่องจากการประมวลผลแบบ Serverless หรือการลบคำว่าเซิร์ฟเวอร์ออกไปจากสมองนั้น ให้ทั้งความเร็วและการประหยัดค่าใช้จ่ายในการพัฒนาเป็นอย่างมาก จึงพบว่ากว่า 37 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรด้านไอทีเริ่มให้ความสนใจและทดสอบระบบใหม่นี้แล้ว แต่ทางผู้เชี่ยวชาญยังมองว่า ทีมงานด้านไอทีควรเปลี่ยนแนวทางการทำงานใหม่ทั้งหมดด้วย โดยต้องเข้าใจธรรมชาติความเป็น Serverless ดังต่อไปนี้

1. การตรวจสอบ และวางระบบความปลอดภัย ต้องทำที่ระดับแอพพลิเคชั่น โดยทูลสำหรับตรวจสอบที่จากเดิมมักทำงานบนระบบปฏิบัติการ หรือในระดับ VM นั้น แต่สำหรับเซิร์ฟเวอร์เลสแล้วมันไม่รู้จักแม้กระทั่งคำว่าระบบปฏิบัติการ ดังนั้นจึงเรียกว่าต้องเปลี่ยนเครื่องมือและกระบวนการในการตรวจสอบและรักษาความปลอดภัยใหม่ทั้งหมด ที่สามารถทำงานในระดับแอพพลิเคชั่นได้โดยตรง

2. แอพบนเซิร์ฟเวอร์เลสอาจทำงานล้นทรัพยากรข้างล่างที่รองรับ เพราะมองไม่เห็น ถือเป็นจุดอ่อนที่มาจากความสามารถด้านการปรับเปลี่ยนขนาดของสถาปัตยกรรมเซิร์ฟเวอร์เลสแบบยืดหยุ่นไหลลื่นเกินไป ยิ่งถ้าแอพพลิเคชั่นบนเซิร์ฟเวอร์เลสต้องพึ่งระบบที่มีทรัพยากรไม่ได้เพียงพอต่อการรองรับการขยายตัวในระดับเดียวกัน

3. ประสบการณ์ช่วงที่ใช้ PaaS ช่วยคุณได้ ก่อนจะรีบโดดเข้าหาเซิร์ฟเวอร์เลสนั้น องค์กรส่วนใหญ่มักเคยมีประสบการณ์ในการทำงานกับ PaaS มาก่อน เนื่องจากที่กล่าวข้างต้นว่า FaaS ก็พัฒนามาจาก PaaS ด้วยเช่นกัน ดังนั้นทูลต่างๆ ที่เคยใช้จัดการประสิทธิภาพและอัพไทม์ของแอพพลิเคชั่นบน PaaS ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับ Serverless ได้พอสมควร

4. ต้องทำงานประสานกันแบบ DevOps อย่างแท้จริง ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เป็นกุญแจในการถลุงประโยชน์จากเซิร์ฟเวอร์เลสได้มากที่สุด อันมาจากการเปิดให้ฝ่ายพัฒนา และฝ่ายปฏิบัติการประสานการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ได้แอพพลิเคชั่นที่สามารถประกันทั้งเรื่องของประสิทธิภาพ, อัพไทม์, และความปลอดภัยได้อย่างสูงสุด

ที่มา : http://www.networkcomputing.com/cloud-infrastructure/serverless-architecture-4-things-know/656297699